ประดู่ป่า

วันที่ : 4/11/2015   จำนวนผู้ชม : 11,505

ชื่อสมุนไพร : ประดู่ป่า
ชื่อเรียกอื่นๆ : ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี), ดู่, ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ประดู่ (ภาคกลาง), จิต๊อก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ตะเลอ, เตอะเลอ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) และ ฉะนอง (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
ชื่อสามัญ Burmese Padauk, Burmese Ebony, Burma Padauk และ Narva
วงศ์ : LEGUMINOSAE

 
 
ประดู่ป่าจัดเป็นพืชที่ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติเขตร้อน สามารถขึ้นได้ตามไหล่เขา ที่ราบ ยอดเขาเตี้ยๆ ใกล้บริเวณแหล่งน้ำที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย ดินตะกอน หรือดินที่เกิดจากภูเขาไฟ มีความลึก และระบายน้ำได้ดี ไม้ประดู่ เป็นไม้ที่มีคุณภาพดี มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้ละเอียดปานกลาง ปลวกไม่ทำลาย มีเนื้อไม้ที่มีสรสวยและลวดลายสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐ
 
 
 
ลักษณะสมุนไพร : 
ประดู่ป่าจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ไม่แผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรงมีความสูงได้ประมาณ 15-30 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำแตกเป็นระแหงทั่วไป ส่วนเปลือกในชั้นในมีน้ำเลี้ยงสีแดงดูแตกเป็นช่องไม่เหมือนกับต้นประดู่บ้าน กิ่งก้านมีลักษณะต้นขึ้น กิ่งและก้านอ่อนมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป ส่วนกิ่งแก่ผิวจะเกลี้ยง มีรากตอนโคนต้นเป็นสันนูนขึ้นมาเหนือพื้นดิน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปค่อนข้างมน หรือรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลม ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายหนัง ใบอ่อนมีขนเล็กน้อย ส่วนใบแก่จะเกลี้ยง ผิวใบจะมีขนสั้นๆ ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลือง รูปร่างของดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเขียว มี 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วย ปลายแยกเป็น 2 แฉก แบ่งเป็นอันบน 2 กลีบติดกัน และอันล่าง 3 กลีบติดกัน ผลเป็นฝักกลมแบน มีปีกคล้ายจานบิน ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเทา ตรงกลางมีเปลือกคลุม แข็งและหนา มีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลแดง
 
 

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : เปลือกต้น, แก่น, ผล และ ใบ
สรรพคุณทางยา :

  1. เปลือกต้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบำรุงร่างกาย ยาแก้ท้องเสีย ยาสมานบาดแผล
  2. แก่น ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ช่วยแก้โลหิตจาง ยาแก้กษัย ยาแก้ไข้ ยาแก้เสมหะ แก้โลหิตและกำเดา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ผื่นคัน ยาแก้คุดทะราด ยาแก้พิษเมาเบื่อ
  3. ผล ยาแก้อาเจียน ยาแก้ท้องร่วง
  4. ใบ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน 

วิธีการใช้ :                                     

  1. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบำรุงร่างกาย ยาแก้ท้องเสีย ยาสมานบาดแผล นำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  2. ยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงโลหิต ช่วยแก้โลหิตจาง ยาแก้กษัย ยาแก้ไข้ ยาแก้เสมหะ แก้โลหิตและกำเดา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ผื่นคัน ยาแก้คุดทะราด ยาแก้พิษเมาเบื่อ นำแก่นมาต้มกับน้ำดื่มรับประทาน
  3. ยาแก้อาเจียน ยาแก้ท้องร่วง นำผลมาต้มกับน้ำ ดื่มรับประทาน
  4. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นำใบประดู่ป่า 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น
  5. รักษาฝี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน นำใบมาพอกฝีให้สุกเร็ว ใช้พอกบาดแผล หรือพอกแก้ผดผื่นคัน

ถิ่นกำเนิด :
ประดู่ป่าเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และประเทศแถบทะเลอันดามัน เบงกอลตะวันตก

 

istanbul escort sisli escort umraniye escort mecidiyekoy escort sisli escort tbilisi escort sisli escort sisli escort sisli escort taksim escort taksim escort umraniye escort kartal escort sirinevler escort maltepe escort izmir escort istanbul escort istanbul escort umraniye escort kadikoy escort vip escort mersin escort istanbul escorts atakoy escort avcilar escort beylikduzu escort okmeydani escort besiktas escort sisli escort maslak escort tuzla escort sex shop isitme cihazi sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop

deneme bonusu deneme bonusu veren siteler deneme bonusu veren siteler deneme bonusu