ประวัติอำเภอชุมแพ และ สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัด ขอนแก่น

วันที่ : 11/10/2009   จำนวนผู้ชม : 1

สมัยก่อนประวัติสาสตร์
            หลักฐานการสำรวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ต.บ้านโคก อ.ภูเวียง ของวิลเฮล์มจิโซลไฮม์ เรื่องเออร์ลี่บรอนซ์ อิน นอร์ธอีสเทิร์น ไทยแลนด์ ได้ค้นพบเครื่องสำริดและเหล็ก มีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขนซ้อนกันหลายวง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว
 
              นอกจากนี้ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทยที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์ อายุประมาณ 4,275 ปี จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่า   อาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี
 
สมัยประวัติศาสตร์
 
             ประวัติการสร้างเมืองขอนแก่น เริ่มขึ้นในราชการพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ. 2340 เพี้ยเมืองแพน เชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็ดและสุวรรณภูมิ ได้พาผู้คนอพยพออกมาจากบ้านชีโหล่น (ในเขตอำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน) มาตั้งบ้านบึงบอนและได้แจ้งความประสงค์ไปยังเจ้าพระยานครราชสีมา ขอเป็นเจ้าเมือง เมื่อเป็นเจ้าเมืองแล้วก็ขอขึ้นกับเมืองนครราชสีมารับอาสาจะทำราชการผูกส่วยตามประเพณี เจ้าพระยานครราชสีมาจึงกราบทูลพระกรุณาไปยังกรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งเพี้ยงเมืองแพนเป็น "พระนครศรีบริรักษ์" ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง โดยยกบ้านบึงบอน (บริเวณริมบึงแก่นนคร) เป็นเมืองขอนแก่น
 
               ต่อมา ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ในราว พ.ศ. 2352 เนื่องจากที่ตั้งเมืองขอนแก่นอยู่ใกล้ชิดเมืองชลบถ (ชนบท) ซึ่งขึ้นกับเมืองนครราชสีมา และมีการปักปันเขตเมืองกัน จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านดอนพันชาติ (อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน) และ พ.ศ. 2369 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์   เวียงจันทร์ขึ้น เมื่อปราบกบฏเรียบร้อยแล้ว โปรดเกล้ายกบ้านภูเวียง ซึ่งเดิมเคยเป็นเมืองโบราณอยู่ก่อนแล้ว เป็นเมืองภูเวียงขึ้นกับเมืองขอนแก่น
 
                ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2381 เมืองขอนแก่นได้ถูกย้ายจากบ้านดอนพันชาติกลับมาตั้งที่ริมบึงบอนทางด้านทิศตะวันตก
 
                ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2398 ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งที่บ้านโนนทองฟากบึงบอนทางทิศตะวันออก จนถึง พ.ศ. 2410 ได้ย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ด้วยเหตุผลทางด้านการคมนาคม เนื่องจากต้องใช้แม่น้ำในการคมนาคมติดต่อ
 
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2435 ได้โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำหัวเมืองลาวพวนซึ่งมีเมืองขอนแก่นขึ้นอยู่ด้วย เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองหัวเมืองลาวใหม่ โดยเปลี่ยนบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือเป็นเมืองลาวพวน ในครั้งนี้ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านดอนบมไปตั้งที่บ้านทุ่ม และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง
 
                 ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน จังหวัดขอนแก่นได้โอนไปขึ้นกับมณฑลอุดร ต่อมาปี พ.ศ. 2442 เนื่องจากบ้านทุ่มในฤดูแล้งกันดารน้ำ ไม่เหมาะแก่การตั้งเมืองใหญ่ จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งที่บ้านเมืองเก่า บริเวณบึงบอนด้านเหนือ
 
                  ปี พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองมาเป็นจังหวัด และให้เรียกเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จนเมื่อเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ได้เปลี่ยนนามผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง และในตอนหลังปี พ.ศ. 2495 ทางราชการได้ประกาศให้เปลี่ยนกลับเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และยังคงใช้ตำแหน่งนี้จนกระทั่งปัจจุบัน
 
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อุทยาน วนอุทยาน
บางแสน 2
         ตั้งอยู่ที่บ้านหินเพิง ตำบลท่าเรือ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 53 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ แต่อยู่ก่อนถึงเขื่อนอุบลรัตน์มีทางทางแยกไป บรรยากาศโดยรอบของชายหาดริมทะเลสาบน้ำจืดเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ สวยสะดุดตาเมื่อพระอาทิตย์ฉายส่องลงมาในยามเย็นกระทบกับทิวเขาภูเก้าที่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหลัง กิจกรรมกีฬาทางน้ำที่น่าสนใจก็คือ การบริการให้เช่าจักรยานน้ำ, บานาน่า โบ๊ต, ห่วงยาง นอกจากนี้ยังมีบริการอาหารเลิศรสที่ปรุงจากปลาภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ได้แก่ ปลานิล, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาช่อน ฯลฯ ช่วงเทศกาลสำคัญ หรือ วันหยุด มักจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมธรรมชาติ และเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก
พัทยา 2
         ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุงเซิน ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 78 กิโลเมตร เป็นทะเลสาบขนาดประมาณ 20 ไร่ มักจะมีผู้คนท้องถิ่นมาพักผ่อนหย่อนใจ เพราะนอกจากจะมีทัศนียภาพที่งดงามโดยมีเทือกเขาภูพานคำตั้งตระหง่านอยู่ด้านหลังแล้ว ยังได้นั่งรับประทานปลาน้ำจืดนานาชนิด (ที่หาได้จากทะเลสาบนี้เอง)บรรยากาศที่เย็นสบาย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมทางน้ำให้เลือกเล่นมากมายเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อน
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
        ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติน้ำพอง ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา ถือเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำชีและลำน้ำพอง สำหรับนักท่องเที่ยวทางอุทยานฯ มีบ้านพักรับรอง และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการอย่างครบครัน
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
        ครอบคลุมพื้นที่ป่าภูเก้า อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และป่าภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 322 ตารางกิโลเมตร สภาพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าเต็งรังมีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่าและศึกษาร่องรอยก่อนประวัติศาสตร์ของชุมชนมนุษย์ในสมัยบ้านเชียง
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
         อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูงชันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218,750 ไร่ แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันผลจากการทำสัมปทานป่าไม้ทำให้พื้นป่าและจำนวนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1473/2532 ลงวันที่ 27 กันยายน 2532 มอบหมายให้ นายพนม พงษ์สุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 4 ให้สำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าดงลาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และพื้นที่ป่าใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธารและมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
         คำว่า “ภูเวียง” เป็นท้องที่อำเภอที่เก่าแก่ของจังหวัดขอนแก่นอำเภอหนึ่ง และยังเป็นชื่อเรียกของเทือกเขามีหลักฐานว่าป่าภูเวียงเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ (หลืบเงิน) บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 มีเนื้อที่ประมาณ 325 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 203,125 ไร่
น้ำตกตาดฟ้า
         เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้า รอยต่อของอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ความสูงราว 30 เมตร ในฤดูฝน้ำจะไหลแรง มีสายน้ำที่ตกลดหลั่นเป็นม่านที่งดงาม ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมีทางรถยนต์เข้าถึงแล้ว
ถ้ำค้างคาวภูผาม่าน
         เป็นถ้ำขนาดใหญอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูผาม่านภายในถ้ำมีค้างคาวปากย่นอาศัยอยู่หลายล้านตัว ในช่วงเย็นย่ำของทุกวัน ค้างคาวจะบินออกจากถ้ำไปหากินเป็นริ้วขบวนยาวนับสิบกิโลเมตร
        นักท่องเที่ยวสามารถชมความาหัศจรรย์ น่าตื่นตาของฝูงค้างคาวนับล้านๆ ตัวได้ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น
ถ้ำพญานาคราช
        เป็นถ้ำที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ภายในถ้ำมีพื้นที่กว้างขวาง แป่งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีหินงอกหินย้อยเป็นช่อขึ้นต่อกันเป็นเสาต้นใหญ่ เมื่อกระทบแสงไฟจะเกิดประกายระยิบระยับสวยงาม
ถ้ำภูตาหลอ
        ตั้งอยุ่ที่บ้านวังสวาบ ตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน เป็นถ้ำที่อยู่บนเนิน ภายในถ้ำอากาศเย็นสบาย ไม่มีค้างคาวและกลิ่นอับชื้น มีห้องโถงขนาดใหญ่ พื้นถ้ำเป็นดินเรียบ มีหินงอกหินนย้อยอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หินบางก้อนมีลักษณะเป็นเกล็ดแวววาวคล้ายหนิเขี้ยวหนุมาน
ผานกเค้า
        เป็นภูเขาที่อยู่ตรงรอยต่อของอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอภูกระดึงจังหวัดเลย ผานกเค้า เป็นหน้าผาสูงชัน ลักษณะคล้ายนกเค้าแมว บริเวณใกล้หน้าผาเป็นถนนกว้างใหญ่ ตลอดสองข้างทางมีร้านอาหารหลากหลาย คอยให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งในแต่ละวันจะมีรถนำนักท่องเที่ยวแวะมารับประทานอาหารกันเนืองแน่น
ถ้ำลายมือ
        อยู่ที่บ้านดอนกอก อำเภอหนองเรือ กรมศิลปากรสำรวจในปี พ.ศ.2526 มีลักษณะเป็นเพิงหิน มีทางขึ้นที่สูงชัน ภาพเขียนเป็นลานเส้นสีแดง และภาพลายมือใช้สีแดงพ่นทับฝ่ามือลงบนหน้าผา กับภาพฝ่ามือสีแดงวางทับลงบนผนังหิน มีลักษณะใกล้เคียงกันกับถ้ำฝ่ามือแดง บ้านหินร่อง กิ่งอำเภอเวียงเก่า
 
เทศกาลและงานประจำปี
 เทศกาลและงานประจำปี
 รายละเอียด
เทศกาลดอกคูณเสียงแคนสุดยอดสงกรานต์อีสานและถนนข้าวเหนียว
จังหวัดขอนแก่นได้จัดกิจกรรมเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเมษายนเป็นประเพณีทุกปี มาตั้งแต่ปี 2531 การจัดงานดังกล่าวได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับจนปัจจุบันได้ชื่อว่า "งานเทศกาลดอกคูนเสียงแคนสุดยอดสงกรานต์อีสานและถนนข้าวเหนียว"วัตถุประสงค์ของการจัดงานดังกล่าวเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการละเล่นสงกรานต์แบบปีใหม่ไทยปลูกฝังพฤติกรรมและค่านิยมที่ดีของเยาวชนต่อครอบครัวและสังคมและที่เป็นจุดเด่นสำคัญของงานคือเป็นงานที่สนุกได้โดยไร้แอลกอฮอล์ซึ่งถือเป็นจังหวัดต้นแบบด้านการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนกิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตร การละเล่นกีฬา ประกวดอาหารพื้นบ้านจัดแสดงคนตรี และการประกวดธิดาดอกคูน เป็นต้น
เทศกาลไหว้พระธาตุขามแก่น
ในวันเพ็ญเดือนหกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือนหก (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ณ วัดเจติยภูมิเป็นงานเฉลิมฉลองพระธาตุเพื่อให้ประชาชนได้สักการะพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองในงานมีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆ
งานเทศกาลไหมและประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด
งานเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่นหรือที่นิยมเรียกกันว่า "งานไหม" หรือ "งานเทศกาลไหม" จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2522 โดยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ประเพณีผูกเสี่ยวเป็นประเพณีดั้งเดิมของคนกลุ่มวัฒนธรรมไทยลาว หรือชาวอีสานมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคำว่า "เสี่ยว" ในความหมายของชาวอีสาน หมายถึงเพื่อนรัก เพื่อนตายเพื่อนร่วมชะตาชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุข ถือเสมือนมีชีวิตเดียวกันคู่เสี่ยวจะติดต่อไปมาหาสู่และช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ตลอดเวลาคนที่จะเป็นคู่เสี่ยวจะต้องเป็นชายกับชาย หญิงกับหญิง ซึ่งสนิทสนมกันรสนิยมคล้ายกัน เกิดปีเดียวกัน มีบุคลิกคล้ายกันพ่อแม่เห็นว่าเด็กรักกันก็จะนำมาผูกแขนต่อหน้าผู้ใหญ่ อบรมให้รักกันแล้วทั้งสองคนก็ได้ชื่อว่าเป็นเสี่ยวกันไปจนชีวิตจะหาไม่งานเทศกาลไหมประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นวัตถุประสงค์ของการจัดงาน คือ ให้ประชาชนเข้าใจความหมายของคำว่าเสี่ยวอย่างถูกต้องฟื้นฟูอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่งเสริมให้คนในชาติตระหนักถึงความเป็นมิตรกันและนำค่าแห่งมิตรภาพนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านความร่วมมือพัฒนาประเทศชาติและขยายผลการผูกเสี่ยวไปสู่คนในชาติให้มากขึ้นกิจกรรมในงาน ได้แก่ การจัดพิธีผูกเสี่ยว ประกวดพานบายศรีจัดขบวนแห่รถตามคำขวัญจังหวัด จัดศาลาไหมเพื่อสาธิตการทอผ้าไหมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์การแสดงศิลปพื้นบ้าน การออกร้านกาชาด การจัดนิทรรศการของส่วนราชการและการประกวดนางงามไหม
งานศิวะราตรีปูชนียาลัย ปราสาทเปือยน้อย
อำเภอเปือยน้อยมีโบราณสถานที่สำคัญ คือปราสาทเปือยน้อยซึ่งเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคอีสานตอนบน และทุกวันเพ็ญ เดือน 5 ของทุกปี ชาวอำเภอเปือยน้อยกำหนดให้เป็นวันบวงสรวงปราสาทเพื่อเป็นการอนุรักษ์ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ให้คงไว้สืบไปโดยจัดงาน"ศิวะราตรีปูชนียาลัย ปราสาทเปือยน้อย" มีกิจกรรมสำคัญคือพิธีทำบุญในภาคเช้า สำหรับภาคค่ำเป็นการแสดงแสงสีเสียง ด้านศิลปวัฒนธรรม
งานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่
บุญกุ้มข้าวใหญ่ หรือบุญคูนลานเป็นประเพณีทำบุญที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะนำมานวดที่ลานนวดข้าวก่อนนำข้าวไปเก็บในยุ้งฉาง เรียกว่า บุญคูนลานโดยเชิญญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญเพื่อร่วมบูชาแม่โพสพโดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ โยงด้ายสายสิญจ์รอบกองข้าว ถวายอาหารบิณฑบาตรเลี้ยงญาติมิตร พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ผู้ร่วมพิธีตลอดจนประพรมลานข้าววัว ควาย เจ้าของนา เพื่อเป็นสิริมงคล จังหวัดขอนแก่นโดยอำเภอบ้านไผ่ได้สืบสานประเพณีดังกล่าวโดยกำหนดจัดงานแห่ปราสาทข้าว หรือบุญกุ้มข้าวใหญ่ในเดือนมกราคมของทุกปีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานและอนุรักษ์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี "ไทอีสาน" ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ เผยแพร่กิจกรรมตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการสินค้าชุมชน เสริมสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนและกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่กิจกรรมสำคัญ คือให้ชาวบ้านนำข้าวเปลือกมารวมกันไว้ที่ลานชั่วคราวบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ แล้วประกอบพิธีกรรมตามประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่อาทิเช่น การนำข้าวเปลือกมาโฮมบุญ การสู่ขวัญข้าวขวัญน้ำ การถวายทานข้าวจัดขบวนแห่ปราสาทข้าวจากทุกตำบล จากหน่วยราชการ/ภาคเอกชนจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคราชการ/เอกชน จัดประกวดเรียงความเรื่อง "ข้าวของพ่อ"ประกวดแข่งขันสารภัญญะ งามตุ้มโฮมไทบ้านไผ่ ประกวดธิดาบุญกุ้มข้าวใหญ่การแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีอิสานตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ การแสดงแสง สี เสียงชุด"กุ้มข้าวใหญ่ ไอศวรรย์ อัศจรรย์เมืองบ้านไผ่"และการแข่งขันการประกวดผลิตผลทางการเกษตรและปศุสัตว์
งานประเพณีเข้าพรรษา
เข้าพรรษาคือการที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ประจำเสนาสนะในวัดใดวัดหนึ่งตลอดเวลา 3 เดือนในฤดูฝนไม่ไปค้างแรมให้ล่วงราตรีในที่แห่งอื่นระหว่างที่ผูกใจนั้นเป็นพิธีกรรมสำหรับภิษุโดยครงซึ่งมีวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตไว้ให้ปฏิบัติทุกรูป จะเว้นเสียมิได้ไม่ว่ากรณีใด ๆมีเรื่องราวปรากฎอยู่ในวัสสุปนายิกขันธกะพระวินัยปิฎกใจความว่าสมัยเมื่อผ่านปฐมโพธิการไปแล้วมีกุลบุตรบวชเป็นภิกษุมากขึ้นพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติให้ภิกษุจำพรรษา ถึงฤดูฝนมีน้ำขังเต็มพื้นที่ไร่นาชาวบ้านประกอบอาชีพกสิกรรม ภิกษุบางจำพวกหาพักการจาริกไม่บางพวกพากันเหยียบพืชผลชาวบ้าน และสัตว์เล็กตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านพากันติเตียนพระพุทธองค์ทรงทราบจึงบัญญัติให้ภิกษุอยู่จำพรรษาในฤดูฝน 3 เดือน คือวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 หลังพุทธศาสนิกชนจะรวมกันที่ศาลาโรงธรรม จัดดอกไม้ธูปเทียน ข้าวสารผ้าอาบน้ำฝนถวายแด่พระสงฆ์ และอธิฐานเข้าพรรษา เรียกว่า ปวารณาเข้าพรรษาจังหวัดขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมงานประเพณีเข้าพรรษาที่วัดพระธาตุพระอารามหลวงวัดหนองแวงพระอารามหลวง และวัดศรีจันทร์พระอารามหลวง เป็นประจำทุกปีและเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญที่วัดใกล้บ้านหรือวัดที่มีจิตศรัทราการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในวันเข้าพรรษาเสริมสร้างและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กเยาชนและประชาชนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อจรรโลงสังคมไทยให้เป็นสังคมดี มีคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติทางศาสนา กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรฟังธรรมเทศนาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝนและอธิษฐานปวารณาเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน
งานประเพณีออกพรรษา
ออกพรรษา หมายถึงการสิ้นสุดกำหนดอยู่จำพรรษาของภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ มีพิธีเป็นสังฆกรรมกรรมพิเศษเรียกโดยภาษาวินัยพิเศษว่า ปวรณากรรมคือการทำปวารณาของสงฆ์ผู้อยู่ร่วมกันมาตลอด 3 เดือน ในวันเพ็ญเดือน 11 กิจกรรมสำคัญที่จัดเป็นประจำทุกปีในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ 1. การตักบาตรเทโวสืบเนื่องมาจากวันเทโวโลหณะ คือวันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกหลังจากเสด็จไปจำพรรษาอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาสและตรัสพระอภิธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาในเทวโลกมาตลอด 3 เดือนพอออกพรรษาก็เสด็จกลับมายังมนุษย์โลกโดยเสด็จลงทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวถีวันเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกว่า วันเทโวโลหณะ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วันนั้นถือกันว่าเป็นวันบุญวันกุศลที่สำคัญวันหนึ่งของพุทธบริษัทโบราณเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก รุ่งขึ้นจากวันนั้นเป็นวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จึงมีการทำบุญตักบาตรเทโวโลหณะกันเป็นการใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าจังหวัดขอนแก่นโดยเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ และอำเภออุบลรัตน์ได้จัดกิจกรรมตักบาตรเทโวเป็นประจำทุกปีที่วัดพระพุทธบาทภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทยบูชาคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและเห็นความสำคัญในวันออกพรรษา กิจกรรมในงานประกอบด้วยนมัสการองค์พระเจ้าใหญ่ ไหว้รอยพระพุทธบาทพระภิกษุสามเณรเดินลงมาจากยอดเขาวัดพระบาทภูพานคำตามบันได 1,049 ขั้นเพื่อรับบิณฑบาต พุทธศาสนิกชนตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งและจตุปัจจัยและขบวนแห่รถนางฟ้า เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ไปยังวัดพระบาทภูพานคำ 2. ไต้ประทีปโคมไฟและวิถีชีวิตอีสาน ในช่วงเทศกาลออกพรรษาจังหวัดขอนแก่นโดยเทศบาลนครขอนแก่น ได้จัดงานประเพณีออกพรรษาไต้ประทีปโคมไฟและวิถีชีวิตอีสาน ระหว่างวันที่ 25-28 ตุลาคม ของทุกปี ณบริเวณบึงแก่นนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งเสริมอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นและอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันดีงามของวิถีชีวิตคนอีสานกิจกรรมสำคัญในงานประกอบด้วย จัดพิธีทางศาสนาออกร้านจำหน่ายอาหารและสินค้าพื้นเมือง จัดแสดงนิทรรศการของเก่าน่าสะสม พระเครื่องประกวดและโชว์บอนไซ จัดแสดงวรรณกรรมเรื่อง"สินไซ" มหกรรมอาหารของดีเมืองขอนแก่นประกวดขบวนแห่ประทีปโคมไฟ ประกวดฮ้านประทีป ประกวดสรภัญญะ การแสดงวัฒนธรรม 5 ภาคจัดประกวดนกกรงหัวจุก การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ การแข่ง X-Game การประกวดกวนข้าวทิพย์ การแสดงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนต่าง ๆ การแสดงคนตรีพื้นเมืองและการแสดงคอนเสิร์ตลูกทุ่งหมอลำ
 
 
 
 
 
ประวัติอำเภอชุมแพ
อำเภอชุมแพ หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่า อารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจติดตา ผานกเค้าเข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ.
 
ประวัติ ประมาณปี พ.ศ. 2400 พระครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจากเมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม
 
กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย บ้านแห่ ส่วนกลุ่มที่นำโดยพระครูหงส์มีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ)
 
ได้เดินทางต่อมาและเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้างและกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ
 
กุดธาตุมีน้ำลึกมาก มีจระเข้ และป่าทึบทำให้จับปลาได้ยาก ประกอบกับรอบ ๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น ชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพใช้ยืนหว่านแหแล้วตีวงล้อมเข้าหากัน นานเข้าจึงเรียกว่า "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"
 
ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น
 
ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง
 
ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น)
 
ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่
วันที่ 1 ก.ค. 2486 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 132 ลว 1 ก.ค. 2486 ยกฐานะตำบลชุมแพขึ้นเป็นอำเภอชุมแพมีตำบลในเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ต.ชุมแพ ต.โนนหัน ต.ขัวเรียง ต.ครีสุขมี นายพิชญ พรมนารถ เป็นนายอำเภอคนแรก
 
 
อำเภอชุมแพ สถานที่ท่องเที่ยว
เมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่อำเภอชุมแพ
เป็นการพบร่องรอยทางโบราณคดี ยุคสมัยศิลปะทวาราวดี ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น
เมืองโบราณสมัยทวาราวดีแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า โนนเมือง เขตบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพ ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 80 กิโลเมตร เดิมทีชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณเนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้น เป็นเมืองเก่าเมืองโบราณ
ลักษณะของเนินเป็นเนินดินรูปไข่ พื้นที่ประมาณ 170 ไร่ มีคูเมือง 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตร จากการสำรวจของหน่วยศิลปากรที่ 7 พบใบเสมาหินทราย
ศิลปะทวาราวดี 3 ชิ้นตั้งอยู่ใกล้เคียงกันจะพบเศษภาชนะดินเผาชิ้นไม่ใหญ่นักกระจัดกระจาย
อยู่ทั่วไปบนเนินดิน เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดงชนิดลายขูดขีดและลายเชือกทาบ
นอกจากนี้ยังค้นพบ โครงกระดูกมนุษย์ที่มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ มีธรรมเนียมการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมศพด้วย เช่น หม้อและภาชนะดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด ลายเชือกทาบ กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ลูกปัดหินสี ฯลฯ
การเดินทาง ใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร
 
วนอุทยานถ้ำผาพวง
อยู่ในเขตบ้านดงลาน ตำบลผานกเค้า อำเภอชุมแพ ห่างจากตัวเมืองตามเส้นทาง
สายขอนแก่น-ชุมแพ 123 กิโลเมตร (ทางหลวงหมายเลข 12 และ 201มีทางแยกขวามือเข้าสู่
วนอุทยานถ้ำผาพวงอีก 4 กิโลเมตร เป็นทางลูกรัง ถ้ำผาพวงเป็นถ้ำใหญ่ที่งดงาม น่าเที่ยว เมื่อไปจอดรถที่เชิงเขาต้องเดินอ้อมเชิงเขาไปอีกด้านหนึ่งเพราะปากทางเข้าสู่ถ้ำผาพวงนั้นอยู่ทาง
ด้านเหนือจากเชิงเขา มีทางไต่ขึ้นไปชมถ้ำเป็นเนินสูงขึ้นไปเรื่อยๆแล้วลาดต่ำลงเมื่อถึงปากถ้ำจะ เห็น ทัศนียภาพที่เป็นป่าเขาอยู่ลิบๆ ถ้ำผาพวงเป็นถ้ำหินปูนที่เพดานถ้ำมีลวดลายธรรมชาติ
ของหินงอกหินย้อยสวยงามมากที่เพดานถ้ำทางด้านในจะมีปล่องใหญ่ถ้าเดินลึกเข้าไปอีกจะมี
ทางวกลงสู่ที่ต่ำแล้วจะมาโผล่ทางกลางถ้ำได้อีกประกาศเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2517มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 3,125 ไร่ การเดินทางไปชมวนอุทยานถ้ำผาพวงควรเตรียมตัว
สำหรับการปีนเขาอาหารห่อน้ำดื่มไปด้วย เพราะบริเวณวนอุทยานไม่มีร้านอาหาร
 

istanbul escort sisli escort umraniye escort mecidiyekoy escort sisli escort tbilisi escort sisli escort sisli escort sisli escort taksim escort taksim escort umraniye escort kartal escort sirinevler escort maltepe escort izmir escort istanbul escort istanbul escort umraniye escort kadikoy escort vip escort mersin escort istanbul escorts atakoy escort avcilar escort beylikduzu escort okmeydani escort besiktas escort sisli escort maslak escort tuzla escort sex shop isitme cihazi sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop sex shop

deneme bonusu deneme bonusu veren siteler deneme bonusu veren siteler deneme bonusu